วิธีเก็บนม เก็บอย่างไรอยู่ได้นานที่สุด
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากเต้าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่คุณแม่อาจมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีปั๊มนมและวธีเก็บนมไว้ให้ลูกน้อย ไม่ว่าคุณจะเป็นคุณแม่ในช่วงให้นมลูก ที่ต้องการความยืดหยุ่นของเวลา ไม่มีเวลาเพียงพอ ต้องกลับไปทำงาน หรือต้องเดินทางบ่อย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร การเรียนรู้วิธีเก็บนมแม่ จะช่วยได้มาก สิ่งที่ต้องรู้ก่อนก็คือ วิธีเก็บนมแม่ ไม่ใช่ว่าจะเก็บได้เหมือนอาหารทั่วไป แต่คุณจะต้องรู้วิธีการเก็บนมแม่อย่างถูกวิธี ไม่งั้นน้ำนมแม่ที่่อุตส่าห์ปั๊มออกมาอาจเสียได้ง่ายๆ
4 วิธีขั้นตอนเก็บนมแม่ให้คงคุณภาพนานที่สุด
1. เตรียมตัวก่อนปั๊มนมโดยดื่มน้ำอุ่นๆล้างมือให้สะอาดและหามุมสงบผ่อนคลาย
2. ก่อนปั๊มนมแม่เก็บไว้ แม่ควรล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดเสียก่อน หากไม่มีสบู่ และน้ำ ให้ใช้เจลทำความสะอาดมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในระดับสูง (64%-69%)
3. นวดคลึงเต้านมหรืออาจประคบด้วยน้ำอุ่นเพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำนม
4. เก็บน้ำนมที่ปั๊มเสร็จในภาชนะที่ลูกกินหมดพอดีสำหรับ 1 มื้อ ปิดภาชนะให้มิดชิด เขียนวันและเวลาปั๊ม
ตารางอุณหภูมิวิธีเก็บนมแม่ให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย
วิธีเก็บนม วอุณหภูมิ (โดยประมาณ) อายุของนมแม่
1. เก็บในอุณหภูมิห้อง (นอกห้องแอร์) สูงกว่า 25 องศาเซลเซียส ไม่เกิน 1 ชั่วโมง
2. เก็บในอุณหภูมิปกติ (ในห้องแอร์) ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส 4 ชั่วโมง
3. เก็บในกระติกน้ำแข็ง ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส สูงสุด 24 ชั่วโมง
4. เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา 2-4 องศาเซลเซียส 2-5 วัน (เก็บไว้ใกล้บริเวณจุดที่เย็นที่สุด)
5. เก็บนมในช่องแช่แข็ง ของตู้เย็นแบบประตูเดียว -10 ถึง -15 องศาเซลเซียส 2 สัปดาห์
6. เก็บนมในช่องแช่แข็ง ของตู้เย็นแบบประตูแยก -18 ถึง -20 องศาเซลเซียส 3 เดือน
7. เก็บนมในตู้แช่แข็ง ต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส 6 เดือน
* ไม่ควรเก็บในที่ที่อุณหภูมิสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส
ขอบคุณบทความจาก : https://www.dumex.co.th/articles/Pages/0_6months/Child%20Development/how-to-store-breastmilk.aspx
Leave a Comment
Your email address will not be published. Required fields are marked *